รถไฟฟ้า มาแล้วครับ เดินทางสู่ บางใหญ่-บางบัวทอง ลูกค้าโครงการสิวารัตน์ 9 ดีใจจัง
.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
แนวเส้นทาง : ระยะทางรวมทั้งสิ้น 43 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณสถานีบางซื่อยกระดับไปตาม แนวถนนไปยังสถานีเตาปูน สถานีวงศ์สว่าง สถานีนครินทร์ สถานีเรวดี สถานแครายสถานีศรีพรสวรรค์ สถานีแยกถนนนนทบุรี 1 สถานีพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรัก ใหญ่สถานีบางบัวทอง สถานีคลองบางแพรก สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ และสถานีคลองบางไผ่เป็นสถานีสุดท้าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า
- ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ จากบางซื่อ-สามเสนเป็นโครงสร้างยกระดับต่อเนื่องมาตามถนนประชา-ราษฎร์ และเริ่มลดระดับลงใต้ดิน เป็นโครงสร้างอุโมงค์เปลี่ยนมาเข้าแนวถนนประชาราษฎร์สาย 1 ต่อเนื่องมาถึงถนนสามเสน เลี้ยวเข้าถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร แล้วเบี่ยงแนวออกเพื่อหลบสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้ แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนประชาธิปก ต่อเนื่องมาถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ และเริ่มยกระดับขึ้นมา เมื่อเลยแยกบางปะแก้วแล้ว ไปจนถึงบริเวณราษฎร์บูรณะ
รูปแบบโครงการ โครงสร้างทางวิ่งจะเป็นโครงสร้างยกระดับทั้งหมดตลอดสาย โดยใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนน เป็นส่วนใหญ่
สถานีขึ้น-ลง
- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ มีสถานีขึ้น-ลงจำนวน 16 สถานี แต่ละสถานีห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร ได้แก่
1.สถานีเตาปูน ก่อสร้างเป็นสถานียกระดับบริเวณสะพานสูงบางซื่อ ข้ามคลองเปรมประชากรไปตามแนวถนนประชาราษฎร์ เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ
2. สถานีวงศ์สว่าง ผ่านสถานีตำรวจนครบาลเตาปูนถึงซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 39 บริเวณทางแยกตัดถนนวงศ์สว่าง
3.สถานีนครอินทร์ วิ่งตามถนนกรุงเทพ-นนท์ ถึงบริเวณทางแยกตัดถนนติวานนท์
4. สถานีเรวดี เลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ ผ่านทางเข้าโรงพยาบาลศรีธัญญาถึง บริเวณซอยติวานนท์ 5
5. สถานีแคราย เข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ตั้งอยู่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
6. สถานีศรีพรสวรรค์ อยู่บริเวณซอยรัตนาธิเบศร์ 28
7.สถานีแยกถนนนนทบุรี 1 บริเวณก่อนซอยรัตนาธิเบศร์ 30 ซึ่งสถานีนี้จะมีที่จอดแล้วจร
8.สถานีพระนั่งเกล้า แนววิ่งจะเริ่มเบนออกขวาจากกลางถนนเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีโครงสร้างทางวิ่งขนาน ไปกับสะพานพระนั่งเกล้า จะเป็นสถานีเชื่อมต่อกับการขนส่งทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา
9. สถานีไทรม้า เบี่ยงเข้าสู่กึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ และวิ่งตรงถึงบริเวณหน้าหมู่บ้านซื่อตรง
10. สถานีท่าอิฐ บริเวณก่อนถึงแยกท่าอิฐ
11. สถานีบางรักใหญ่ บริเวณทางเข้าวัดบางรักใหญ่
12. สถานีบางบัวทอง บริเวณก่อนถึงแยกตัดกับถนนบางกรวย - บางบัวทอง
13.สถานีคลองบางแพรก บริเวณคลองบางแพรก
14.สถานีสามแยกบางใหญ่ บริเวณหน้าหมู่บ้านกฤษดานคร 10 ก่อนถึงแยกถนนวงแหวนรอบนอก
15.สถานีตลาดบางใหญ่ เลี้ยวขวาบริเวณทางแยกและวิ่งไปตามแนวกึ่งกลางของถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) ถึงบริเวณโรงพยาบาลเกษมราษฎร์
16. สถานีคลองบางไผ่ (บริเวณคลองบางไผ่) เป็นสถานีสุดท้าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งเป็นอาคารจอดแล้วจร
- จุดที่ตั้งสถานีช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ มีสถานีขึ้น-ลง 18 สถานี ได้แก่
1.สถานี บางโพ
2.สถานี ศรีย่าน
3.สถานี กรมชลฯ
4.สถานี สามเสน
5.สถานี หอสมุดแห่งชาติ
6.สถานี พระสุเมรุ
7.สถานี ราชดำเนิน
8.สถานี เจริญกรุง
9.สถานี วังบูรพา
10.สถานี สะพานพระปกเกล้า
11.สถานี วงเวียนใหญ่
12.สถานี สำเหร่
13.สถานี มไหสวรรค์
14.สถานี จอมทอง
15.สถานี ดาวคะนอง
16.สถานี บางปะกอก
17.สถานี ประชาอุทิศ
18.สถานี ราษฎร์บูรณะ
แผนการก่อสร้าง
- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ จะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการยื่นข้อเสนอประกวดราคา ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2548 หลังจากนั้นจะมีการประกาศเชิญชวน และจัดทำข้อเสนอราคาในเดือนมิถุนายน 2548 และจะสามารถประเมินข้อเสนอเจรจาต่อรองขออนุมัติและลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนสิงหาคม 2548 จึงสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ โดยใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 32 เดือน โดยจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2551
-ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2553
ความคืบหน้า
- ช่วงบางชื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียดเส้นทาง และมีแนวเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกาออกมาแล้ว หลังจากนั้นจะมีการสำรวจรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเขตทางคาดว่าจะใช้เวลา 4 เดือน และจะมีการดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 16 เดือน รฟม. ได้ลงนามสัญญาว่า จ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา AEC ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินงาน มีความคืบหน้า เช่น งานสำรวจและจัดทำแผนที่แสดง ภูมิประเทศ เขตที่ดิน และสาธารณูปโภค งานออกแบบแนวเส้นทาง งานออกแบบรายละเอียดด้านสถา-ปัตยกรรมและวิศวกรรมของสถานี เป็นต้น ซึ่ง รฟม. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำผล การศึกษาต่างๆ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบอย่างต่อเนื่องและมีแผนการดำเนินงานในเรื่องการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและด้านชุมชนสัมพันธ์ ดังนี้
1.การจัดประชุมครั้งที่ 1 เพื่อปฐมนิเทศโครงการ เพื่อเป็นการแนะนำและชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการพร้อม ทั้งรับฟังความคิดเห็นต่างๆ โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประมาณ 100 คน จากส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่จังหวัด นนทบุรีครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอที่แนวเส้นทางโครงการพาดผ่าน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ และ อำเภอบางบัวทอง ผู้นำส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจากภาคเอกชน และสื่อมวลชน ในเดือนมีนาคม 2548 ผลที่ได้จากการประชุม สัมมนาครั้งนี้จะนำมาประมวลวิเคราะห์และสรุปประเด็นข้อคิดเห็น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินการ ศึกษาและออกแบบราย ละเอียดในโครงการให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
2.จัดประชุมสัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 30-40 คน เดือนมีนาคม-เมษายน 2548 เพื่อเป็นการสำรวจทัศนคติ และประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการ สร้างความเข้าใจและการรับรู้ โดยจะแบ่งการสัมมนากลุ่มย่อยตลอด แนวเส้นทางโครงการออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
- ชุมชนบริเวณย่านสถานีบางซื่อ
- ชุมชนบริเวณ กม . ที่ 17 ถึงสี่แยกแคราย
- กลุ่มผู้แทนจากเทศบาลนครนนทบุรี อบต.ไทรม้า และ อบต.บางรักน้อย
- กลุ่มผู้แทนจาก อบต.บางเลน และเสาธงหิน
- กลุ่มผู้แทนจาก อบต.โสนลอย บางรักใหญ่ บางรักพัฒนา และพิมลราช
3.การประชุมสัมมนาครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นประมาณ เดือนพฤษภาคม 2548 หลังจากที่บริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการแล้วเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง มาตรการในการจัดการกับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะและปัญหาต่างๆ โดย จะมีผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาคเอกชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน นอก จากการจัดประชุมสัมมนาดังกล่าวข้างต้นแล้ว รฟม. จะร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดนิทรรศการตามหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน เพื่อเผยแพร่รายละเอียดและข้อมูลโครงการสู่สาธารณชนเป็นระยะๆ ตามสถานที่ ดังนี้
- ปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือนเมษายน 2548 จะจัดนิทรรศการในงาน "วัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยาใต้ฟ้านนท์ " ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีของจังหวัดนนทบุรี ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง นนทบุรี
- งาน " บางใหญ่แฟร์ " ที่ศูนย์ราชการอำเภอบางใหญ่ และตลาดบางใหญ่ซิตี้
- ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กองประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2246 5733, 0-2246 5744 ต่อ 116, 121 โทรสาร 0 2246 2099, 0 2246 3687 http://www.mrta.co.th
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
แนวเส้นทาง : ระยะทางรวมทั้งสิ้น 43 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณสถานีบางซื่อยกระดับไปตาม แนวถนนไปยังสถานีเตาปูน สถานีวงศ์สว่าง สถานีนครินทร์ สถานีเรวดี สถานแครายสถานีศรีพรสวรรค์ สถานีแยกถนนนนทบุรี 1 สถานีพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรัก ใหญ่สถานีบางบัวทอง สถานีคลองบางแพรก สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ และสถานีคลองบางไผ่เป็นสถานีสุดท้าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า
- ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ จากบางซื่อ-สามเสนเป็นโครงสร้างยกระดับต่อเนื่องมาตามถนนประชา-ราษฎร์ และเริ่มลดระดับลงใต้ดิน เป็นโครงสร้างอุโมงค์เปลี่ยนมาเข้าแนวถนนประชาราษฎร์สาย 1 ต่อเนื่องมาถึงถนนสามเสน เลี้ยวเข้าถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร แล้วเบี่ยงแนวออกเพื่อหลบสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้ แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนประชาธิปก ต่อเนื่องมาถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ และเริ่มยกระดับขึ้นมา เมื่อเลยแยกบางปะแก้วแล้ว ไปจนถึงบริเวณราษฎร์บูรณะ
รูปแบบโครงการ โครงสร้างทางวิ่งจะเป็นโครงสร้างยกระดับทั้งหมดตลอดสาย โดยใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนน เป็นส่วนใหญ่
สถานีขึ้น-ลง
- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ มีสถานีขึ้น-ลงจำนวน 16 สถานี แต่ละสถานีห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร ได้แก่
1.สถานีเตาปูน ก่อสร้างเป็นสถานียกระดับบริเวณสะพานสูงบางซื่อ ข้ามคลองเปรมประชากรไปตามแนวถนนประชาราษฎร์ เป็นสถานีร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ
2. สถานีวงศ์สว่าง ผ่านสถานีตำรวจนครบาลเตาปูนถึงซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 39 บริเวณทางแยกตัดถนนวงศ์สว่าง
3.สถานีนครอินทร์ วิ่งตามถนนกรุงเทพ-นนท์ ถึงบริเวณทางแยกตัดถนนติวานนท์
4. สถานีเรวดี เลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ ผ่านทางเข้าโรงพยาบาลศรีธัญญาถึง บริเวณซอยติวานนท์ 5
5. สถานีแคราย เข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ตั้งอยู่หน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี
6. สถานีศรีพรสวรรค์ อยู่บริเวณซอยรัตนาธิเบศร์ 28
7.สถานีแยกถนนนนทบุรี 1 บริเวณก่อนซอยรัตนาธิเบศร์ 30 ซึ่งสถานีนี้จะมีที่จอดแล้วจร
8.สถานีพระนั่งเกล้า แนววิ่งจะเริ่มเบนออกขวาจากกลางถนนเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีโครงสร้างทางวิ่งขนาน ไปกับสะพานพระนั่งเกล้า จะเป็นสถานีเชื่อมต่อกับการขนส่งทางเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา
9. สถานีไทรม้า เบี่ยงเข้าสู่กึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ และวิ่งตรงถึงบริเวณหน้าหมู่บ้านซื่อตรง
10. สถานีท่าอิฐ บริเวณก่อนถึงแยกท่าอิฐ
11. สถานีบางรักใหญ่ บริเวณทางเข้าวัดบางรักใหญ่
12. สถานีบางบัวทอง บริเวณก่อนถึงแยกตัดกับถนนบางกรวย - บางบัวทอง
13.สถานีคลองบางแพรก บริเวณคลองบางแพรก
14.สถานีสามแยกบางใหญ่ บริเวณหน้าหมู่บ้านกฤษดานคร 10 ก่อนถึงแยกถนนวงแหวนรอบนอก
15.สถานีตลาดบางใหญ่ เลี้ยวขวาบริเวณทางแยกและวิ่งไปตามแนวกึ่งกลางของถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) ถึงบริเวณโรงพยาบาลเกษมราษฎร์
16. สถานีคลองบางไผ่ (บริเวณคลองบางไผ่) เป็นสถานีสุดท้าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งเป็นอาคารจอดแล้วจร
- จุดที่ตั้งสถานีช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ มีสถานีขึ้น-ลง 18 สถานี ได้แก่
1.สถานี บางโพ
2.สถานี ศรีย่าน
3.สถานี กรมชลฯ
4.สถานี สามเสน
5.สถานี หอสมุดแห่งชาติ
6.สถานี พระสุเมรุ
7.สถานี ราชดำเนิน
8.สถานี เจริญกรุง
9.สถานี วังบูรพา
10.สถานี สะพานพระปกเกล้า
11.สถานี วงเวียนใหญ่
12.สถานี สำเหร่
13.สถานี มไหสวรรค์
14.สถานี จอมทอง
15.สถานี ดาวคะนอง
16.สถานี บางปะกอก
17.สถานี ประชาอุทิศ
18.สถานี ราษฎร์บูรณะ
แผนการก่อสร้าง
- ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ จะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการยื่นข้อเสนอประกวดราคา ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2548 หลังจากนั้นจะมีการประกาศเชิญชวน และจัดทำข้อเสนอราคาในเดือนมิถุนายน 2548 และจะสามารถประเมินข้อเสนอเจรจาต่อรองขออนุมัติและลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนสิงหาคม 2548 จึงสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ โดยใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 32 เดือน โดยจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2551
-ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2553
ความคืบหน้า
- ช่วงบางชื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบรายละเอียดเส้นทาง และมีแนวเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกาออกมาแล้ว หลังจากนั้นจะมีการสำรวจรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ตามแนวเขตทางคาดว่าจะใช้เวลา 4 เดือน และจะมีการดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 16 เดือน รฟม. ได้ลงนามสัญญาว่า จ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา AEC ศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ดำเนินงาน มีความคืบหน้า เช่น งานสำรวจและจัดทำแผนที่แสดง ภูมิประเทศ เขตที่ดิน และสาธารณูปโภค งานออกแบบแนวเส้นทาง งานออกแบบรายละเอียดด้านสถา-ปัตยกรรมและวิศวกรรมของสถานี เป็นต้น ซึ่ง รฟม. และบริษัทที่ปรึกษาจะนำผล การศึกษาต่างๆ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบอย่างต่อเนื่องและมีแผนการดำเนินงานในเรื่องการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและด้านชุมชนสัมพันธ์ ดังนี้
1.การจัดประชุมครั้งที่ 1 เพื่อปฐมนิเทศโครงการ เพื่อเป็นการแนะนำและชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการพร้อม ทั้งรับฟังความคิดเห็นต่างๆ โดยจะมีผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาประมาณ 100 คน จากส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่จังหวัด นนทบุรีครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอที่แนวเส้นทางโครงการพาดผ่าน ได้แก่ อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอบางใหญ่ และ อำเภอบางบัวทอง ผู้นำส่วนท้องถิ่น ผู้แทนจากภาคเอกชน และสื่อมวลชน ในเดือนมีนาคม 2548 ผลที่ได้จากการประชุม สัมมนาครั้งนี้จะนำมาประมวลวิเคราะห์และสรุปประเด็นข้อคิดเห็น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินการ ศึกษาและออกแบบราย ละเอียดในโครงการให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
2.จัดประชุมสัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 30-40 คน เดือนมีนาคม-เมษายน 2548 เพื่อเป็นการสำรวจทัศนคติ และประชาสัมพันธ์รายละเอียดข้อมูลโครงการ สร้างความเข้าใจและการรับรู้ โดยจะแบ่งการสัมมนากลุ่มย่อยตลอด แนวเส้นทางโครงการออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
- ชุมชนบริเวณย่านสถานีบางซื่อ
- ชุมชนบริเวณ กม . ที่ 17 ถึงสี่แยกแคราย
- กลุ่มผู้แทนจากเทศบาลนครนนทบุรี อบต.ไทรม้า และ อบต.บางรักน้อย
- กลุ่มผู้แทนจาก อบต.บางเลน และเสาธงหิน
- กลุ่มผู้แทนจาก อบต.โสนลอย บางรักใหญ่ บางรักพัฒนา และพิมลราช
3.การประชุมสัมมนาครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นประมาณ เดือนพฤษภาคม 2548 หลังจากที่บริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการแล้วเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง มาตรการในการจัดการกับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะและปัญหาต่างๆ โดย จะมีผู้แทนจากส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาคเอกชนและสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน นอก จากการจัดประชุมสัมมนาดังกล่าวข้างต้นแล้ว รฟม. จะร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดนิทรรศการตามหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน เพื่อเผยแพร่รายละเอียดและข้อมูลโครงการสู่สาธารณชนเป็นระยะๆ ตามสถานที่ ดังนี้
- ปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือนเมษายน 2548 จะจัดนิทรรศการในงาน "วัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยาใต้ฟ้านนท์ " ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำปีของจังหวัดนนทบุรี ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมือง นนทบุรี
- งาน " บางใหญ่แฟร์ " ที่ศูนย์ราชการอำเภอบางใหญ่ และตลาดบางใหญ่ซิตี้
- ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กองประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2246 5733, 0-2246 5744 ต่อ 116, 121 โทรสาร 0 2246 2099, 0 2246 3687 http://www.mrta.co.th
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น